สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 3

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย 
ตอนที่ 3 ... ทำไมเขาต้องทำให้เรา "เหมือนกันด้วย" และกล่อมเกลาความคิดของเรา ?



       ระบบการศึกษาในประเทศเสรีนั้น เขาเน้นให้นักเรียนมีเสรีภาพด้านความคิด จะพูดจะคุย ซักถาม จะถามเรื่องอะไรก็ถามได้ไม่มีขีดจากัดเพราะเขาถือว่า คำถามเป็นหน่ออ่อนของการเปลี่ยนแปลงทางปัญญา เป็นพลังของการแสวงหาคาตอบของปัจเจก อันจะนำมาซึ่งความรู้ที่จะใช้พัฒนาประเทศ เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตั้งคาถามวิพากษ์ วิจารณ์ นั้นหมายถึงในทุกแขนงวิชานะครับ ทั้งวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ นักเรียน นักศึกษาในประเทศดังกล่าวสามารถวิพากษ์วิจารณ์ แม้กระทั่ง อำนาจของผู้บริหาร ผู้มีอานาจในสังคมใดๆก็ตามได้อย่างเสรี แต่ในประเทศไทยนั้น เราก็มีเสรีครับ เรื่องเรามีแบบเรียน หลักสูตรที่ถูกกำหนดโดยกระทรวง ถามได้ทุกเรื่องที่เป็นความรู้ มีเรื่องเดียวที่ห้ามถาม ห้ามวิพากษ์ ห้ามวิจารณ์ คือ เรื่องเกี่ยวกับ “อำนาจ” ครับ เราถูกทำให้เชื่อเสมอมาว่าถ้าใครขืนมาพูด วิพากษ์ วิจารณ์ จนถึงประท้วง เรื่องพวกนี้ ต้องเป็นพวกหัวแข็ง ดื้อด้าน ไม่ฟังใคร หัวรุนแรง จนถึงพวกกบฏ วิธีคิดแบบนี้ไม่ใช่เฉพาะในระบบการศึกษานะครับ แต่เป็นวัฒนธรรมหลักของสังคมและของรัฐไทยมานานแล้ว ดูประวัติศาสตร์ไทยในอดีตสิครับ ลองใครคิดอะไรแตกต่างจากชาวบ้านชาวช่องเป็นอันถูกข้อหาเหล่านี้ทั้งนั้น

      ผมจำลองมานั่งตั้งคำถามกับตัวเองว่า ... ทำไม ? เกือบทุกครั้งที่เรียนวิชาเตรียมสหกิจศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนึง บางมหาวิทยาลัยก็ใช้ชื่อว่า เตรียมฝึกงาน แต่ ณ มหาวิทยาลัยที่ผมศึกษานั้น ใช้คำว่า "เตรียมสหกิจศึกษา"  ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ เตรียมสหกิจศึกษากันซักเล็กน้อยนะครับ 
       
      " สหกิจศึกษา(Co-operative Education) คือ ระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในหน่วยงาน ซึ่งเรียกว่า สถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต อย่างเป็นระบบก่อนสำเร็จการศึกษา โดยที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตที่ให้ความร่วมมือแบบเต็มเวลา จำนวน 16 สัปดาห์ (เรียนรู้การปฏิบัติงานจริง จำนวน 4 เดือนเต็ม : 1ภาคการศึกษา) ทั้งนี้นักศึกษาจะไม่อยู่ใน สถานะของนักศึกษาฝึกงาน แต่ว่านักศึกษาจะเป็นเสมือนเจ้าหน้าที่หรือพนักงานปฏิบัติงานชั่วคราวในสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาสหกิจศึกษาอาจจะได้รับเงินเดือน ค่าจ้างสวัสดิการหรือค่าตอบแทนอื่นตามความเหมาะสมจากสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต " - ( งานการเรียนการสอนรูปแบบสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ )


 ส่วนใหญ่ของนักศึกษา ( เดิม : น้องใหม่) ไม่ได้ฆ่าตัวตายทางกาย แต่ทุกคนตายทางวิญญาณ และสติปัญญาไปหมดแล้ว ภายใต้สายตาของมหาวิทยาลัยนั้นเอง” ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์
     

       ซึ่งผมจะไม่ขอพูดอะไรมาก เพราะผมรู้สึกว่า " เขาพยายามทำให้ นักศึกษาที่มาจากหลากหลายที่ หลายภาค หลายจังหวัด หลายครอบครัว เป็น แบรนด์ของตัวเองจนไปทำลายความเป็นปัจเจกบุคคล " และเมื่อผมฟังต่อไปเรื่อย พบว่า แค่นั้นแหละ ... ทั้งกล่อมเกลาทางปัญญา ทั้งๆที่ ความหลากหลายเป็นต้นเหตุของ ความคิดที่แตกต่าง มุมมองที่แปลกใหม่ ... 

       น่าแปลกที่สังคมในบ้านเรายอมรับบุคคลที่คิดต่าง หรือแตกต่างกันทางปัจเจกบุคคลไม่ค่อยจะได้กัน ... และชอบตัดสินอะไรๆจากลักษณะภายนอกมาก่อนภายใน

       ผมได้เรียนวิชาเตรียมสหกิจทำให้ผมรู้เลยว่า การจะรับใครทำงานซักคนนี้ เรื่องที่ "ไร้สาระ" ก็เอามาคิด ... ถ้าความจริงเป็นแบบนั้น ผมชักกลัวแล้วละซิครับว่า ประเทศเราจะก้าวต่อไปอย่างไรหากมีคนแบบนี้อยู่เยอะแยะ 

       ไหนจะด้วยเรื่อง "อาวุธโส" ซึ่งชอบนำมาเป็นข้ออ้างในการกระทำผิด ไม่สามารถ ถก-เถียงได้ นั้นก็เพราะ ในระดับการศึกษาได้มีการกล่อมเกลาทางปัญญาให้เชื่อโดยจิตฝังลึก จิตใต้สำนึกว่า ห้ามเถียงผู้ใหญ่ ( ซึ่งระบบดังกล่าว จะพูดถึง ในคราวต่อไป แน่นอนครับเกี่ยวกับเรื่อง SOTUSและการรับน้อง )  . . .


อ้างอิง :  วรวิทย์ ไชยทอง. รับน้อง : ฉันเบื่อ..ที่จะมาหาความหมาย ฉันขอ..กระดาษหลายๆ ใบ. 

      

Share This Post

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น