สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย  
ตอนที่ 5 . . . ทำไมเด็กไทยจึงต้องใส่ชุดนักศึกษา




ทำไมเด็กไทยจึงต้องใส่ชุดนักศึกษา

       ทำไมนักศึกษาในประเทศไทยจึงยังต้องใส่ชุดเครื่องแบบนักศึกษาอยู่ ในขณะที่ต่างประเทศสามารถไปเรียนด้วยชุดลำลองที่สุภาพก็ได้ การเรียนในมหาวิทยาลัยควรจะให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่หรือ?

       ทำไมนักศึกษาจึงแต่งกายในชุดปกติที่สุภาพมาเรียนไม่ได้? ทำไมต้องให้ใครมาบังคับจำกัดเสรีภาพในการแต่งตัวของเราเอง? ในเมื่อการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดแล้วจุดประสงค์ในการเรียนในมหาวิทยาลัยก็ควรจะเป็นการศึกษาหาความรู้ใช่หรือไม่?


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 4

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย 
ตอนที่ 4 . . . รู้ทันความท้อถอย 




       กลับมาพบกันอีกแล้วนะครับ กับ สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 4 ... วันนี้เราจะเสนอ ความท้อถอยต่ออุปสรรค์ครับ แรงบรรดาลใจที่เขียนเรื่องนี้ มาจากวิชาเตรียมสหกิจได้ฟังการบรรยายแล้วชอบมาก พูดถึง การคิดนอกกรอบ ( ถ้ามีโอกาสจะพูดถึงเรื่องนี้ในภายหลัง ) และเรื่อง ความท้อถอยครับ ... ก่อนอื่น ผมอยากให้ทุกท่านได้ชมคลิบนี้ครับ ... แล้วท่านตอบตัวท่านเองว่า ท่านได้อะไรจากคลิบนี้บ้าง 




ความท้อถอยต่ออุปสรรค์ต่างๆ 

       ในการดำเนินชีวิตประจำวันแน่นอนครับว่าต้องมีเรื่องที่สมหวัง ผิดหวัง ซึ่งทำให้เรารู้สึก หดหู่ ไม่อยากจะก้าวเดินไปข้างหน้าต่อ ในวัยเรียน หากพบว่าเราเรียนไม่ค่อยเข้าใจ คะแนนสอบน้อย
ทุกคนต้องเกิดอาการ เบื่อหน่าย ไม่อยากจะคุยกับใครทั้งนั้น อ่อนล้า อาการประมานนี้เราเรียกว่า "ความท้อ" ครับ ... ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะพบในหมู่ของคนอายุ ช่วง 20-40 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า
จะไม่พบในช่วงอายุอื่นๆ นะครับ 


มนุษย์เรามีความท้อถอยจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ 

1.ลักษณะของความท้อถอยทางด้านอารมณ์ หรือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกเบื่อหน่าย ความอ่อนล้า หมดเรี่ยวหมดแรง เกิดความเครียด ความคับข้องใจ ไม่สบอารมณ์ไปทุกเรื่อง
2. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ได้แก่ ลักษณะของบุคคลที่ไม่สนใจในพฤติกรรมของใครๆ ไม่ยินดียินร้าย ใครจะทักก็ช่างใครไม่ทักก็ช่าง ไม่ใส่ใจพฤติกรรมคนอื่น
มีเจตคติและแนวคิดที่ไม่ดีต่อคนอื่น มองคนอื่นในแง่ร้าย ระแวง ไม่ไว้ใจคนอื่นมองเห็นเพื่อนไม่ใช่เพื่อน คิดทำร้ายตนเองและคิดว่าคนอื่นจะทำร้ายตนเช่นกัน บุคคลในกลุ่มนี้จะรู้สีกว่าตนเองด้อยค่า
มีความรู้สึกทางด้านลบ
3. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากการไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานของตน บางท่านรู้สึกเองว่าตนเองไร้ความสามารถ การทำงานล้มเหลว งานไม่สมกับที่ตั้งใจ
บุคคลกลุ่มนี้จะมองคุณค่าของตนเองต่ำ



ความท้อถอย อาจแบ่ง ได้ 3 ระดับ คือ 

1. ความท้อถอยในระดับสูง คนๆนั้นจะมีความอ่อนล้าทางอารมณ์ค่อนข้างมากและมีความรู้สึกด้อยในคุณค่าของตนเองมากเช่นกัน แต่ในเรื่องความสำเร็จของงานบุคคลในกลุ่มนี้จะรู้สึกว่างานของตนไม่พัฒนา
หรือไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร หรืองานอยู่ในระดับต่ำนั่นเอง
2. ความท้อถอยในระดับปานกลาง บุคคลประเภทนี้ จะมีความท้อในในสามลักษณะที่กล่าวมาในระดับปานกลาง เรียกได้ว่าอาการท้อถอยมีเหมือนกันแต่มีในระดับกลางๆ
ยังไม่เข้ามาทำลายอารมณ์และความรู้สึกมากนัก
3. ความท้อถอยในระดับต่ำ บุคคลในกลุ่มนี้น่าสนใจเพราะ บุคคลในกลุ่มนี้จะมีความท้อถอยในเรื่องความอ่อนล้าทางอารมณ์และ ความรู้สึกด้อยคุณค่าในตนเองต่ำ สิ่งที่น่าสนใจคือ บุคคลในกลุ่มนี้
 จะมีความสำเร็จส่วนบุคคลสูง


การแก้ไขอาการท้อง่ายๆ สามารถกระทำได้ คือ 

1. ต้องแก้ที่ตัวเราเอง หาสาเหตุว่าทำไมเราถึงท้อ แล้วปรับปรุงส่วนนั้นให้ดีขึ้นในโอกาสหน้า ทุกคนล้วนแต่ท้อแท้กันทั้งนั้นครับ แต่การที่เราลุกขึ้นสู้เพื่อให้พ้นส่วนนั้นไปได้ ผมว่าเจ๋งสุดๆ ไปเลยละ
2. อย่าตั้งความหวังสูงเกินตัว หวังได้นะครับ แต่อย่าตั้งความหวังกับสิ่งนั้นมากจนเกินไป จนทำให้เราเกิดบาดแผลหากไม่เป็นไปดั่งตามที่ใจตั้งไว้


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 3

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย 
ตอนที่ 3 ... ทำไมเขาต้องทำให้เรา "เหมือนกันด้วย" และกล่อมเกลาความคิดของเรา ?



       ระบบการศึกษาในประเทศเสรีนั้น เขาเน้นให้นักเรียนมีเสรีภาพด้านความคิด จะพูดจะคุย ซักถาม จะถามเรื่องอะไรก็ถามได้ไม่มีขีดจากัดเพราะเขาถือว่า คำถามเป็นหน่ออ่อนของการเปลี่ยนแปลงทางปัญญา เป็นพลังของการแสวงหาคาตอบของปัจเจก อันจะนำมาซึ่งความรู้ที่จะใช้พัฒนาประเทศ เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตั้งคาถามวิพากษ์ วิจารณ์ นั้นหมายถึงในทุกแขนงวิชานะครับ ทั้งวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ นักเรียน นักศึกษาในประเทศดังกล่าวสามารถวิพากษ์วิจารณ์ แม้กระทั่ง อำนาจของผู้บริหาร ผู้มีอานาจในสังคมใดๆก็ตามได้อย่างเสรี แต่ในประเทศไทยนั้น เราก็มีเสรีครับ เรื่องเรามีแบบเรียน หลักสูตรที่ถูกกำหนดโดยกระทรวง ถามได้ทุกเรื่องที่เป็นความรู้ มีเรื่องเดียวที่ห้ามถาม ห้ามวิพากษ์ ห้ามวิจารณ์ คือ เรื่องเกี่ยวกับ “อำนาจ” ครับ เราถูกทำให้เชื่อเสมอมาว่าถ้าใครขืนมาพูด วิพากษ์ วิจารณ์ จนถึงประท้วง เรื่องพวกนี้ ต้องเป็นพวกหัวแข็ง ดื้อด้าน ไม่ฟังใคร หัวรุนแรง จนถึงพวกกบฏ วิธีคิดแบบนี้ไม่ใช่เฉพาะในระบบการศึกษานะครับ แต่เป็นวัฒนธรรมหลักของสังคมและของรัฐไทยมานานแล้ว ดูประวัติศาสตร์ไทยในอดีตสิครับ ลองใครคิดอะไรแตกต่างจากชาวบ้านชาวช่องเป็นอันถูกข้อหาเหล่านี้ทั้งนั้น

      ผมจำลองมานั่งตั้งคำถามกับตัวเองว่า ... ทำไม ? เกือบทุกครั้งที่เรียนวิชาเตรียมสหกิจศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนึง บางมหาวิทยาลัยก็ใช้ชื่อว่า เตรียมฝึกงาน แต่ ณ มหาวิทยาลัยที่ผมศึกษานั้น ใช้คำว่า "เตรียมสหกิจศึกษา"  ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ เตรียมสหกิจศึกษากันซักเล็กน้อยนะครับ 
       
      " สหกิจศึกษา(Co-operative Education) คือ ระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในหน่วยงาน ซึ่งเรียกว่า สถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต อย่างเป็นระบบก่อนสำเร็จการศึกษา โดยที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตที่ให้ความร่วมมือแบบเต็มเวลา จำนวน 16 สัปดาห์ (เรียนรู้การปฏิบัติงานจริง จำนวน 4 เดือนเต็ม : 1ภาคการศึกษา) ทั้งนี้นักศึกษาจะไม่อยู่ใน สถานะของนักศึกษาฝึกงาน แต่ว่านักศึกษาจะเป็นเสมือนเจ้าหน้าที่หรือพนักงานปฏิบัติงานชั่วคราวในสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาสหกิจศึกษาอาจจะได้รับเงินเดือน ค่าจ้างสวัสดิการหรือค่าตอบแทนอื่นตามความเหมาะสมจากสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต " - ( งานการเรียนการสอนรูปแบบสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ )


 ส่วนใหญ่ของนักศึกษา ( เดิม : น้องใหม่) ไม่ได้ฆ่าตัวตายทางกาย แต่ทุกคนตายทางวิญญาณ และสติปัญญาไปหมดแล้ว ภายใต้สายตาของมหาวิทยาลัยนั้นเอง” ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์
     

       ซึ่งผมจะไม่ขอพูดอะไรมาก เพราะผมรู้สึกว่า " เขาพยายามทำให้ นักศึกษาที่มาจากหลากหลายที่ หลายภาค หลายจังหวัด หลายครอบครัว เป็น แบรนด์ของตัวเองจนไปทำลายความเป็นปัจเจกบุคคล " และเมื่อผมฟังต่อไปเรื่อย พบว่า แค่นั้นแหละ ... ทั้งกล่อมเกลาทางปัญญา ทั้งๆที่ ความหลากหลายเป็นต้นเหตุของ ความคิดที่แตกต่าง มุมมองที่แปลกใหม่ ... 

       น่าแปลกที่สังคมในบ้านเรายอมรับบุคคลที่คิดต่าง หรือแตกต่างกันทางปัจเจกบุคคลไม่ค่อยจะได้กัน ... และชอบตัดสินอะไรๆจากลักษณะภายนอกมาก่อนภายใน

       ผมได้เรียนวิชาเตรียมสหกิจทำให้ผมรู้เลยว่า การจะรับใครทำงานซักคนนี้ เรื่องที่ "ไร้สาระ" ก็เอามาคิด ... ถ้าความจริงเป็นแบบนั้น ผมชักกลัวแล้วละซิครับว่า ประเทศเราจะก้าวต่อไปอย่างไรหากมีคนแบบนี้อยู่เยอะแยะ 

       ไหนจะด้วยเรื่อง "อาวุธโส" ซึ่งชอบนำมาเป็นข้ออ้างในการกระทำผิด ไม่สามารถ ถก-เถียงได้ นั้นก็เพราะ ในระดับการศึกษาได้มีการกล่อมเกลาทางปัญญาให้เชื่อโดยจิตฝังลึก จิตใต้สำนึกว่า ห้ามเถียงผู้ใหญ่ ( ซึ่งระบบดังกล่าว จะพูดถึง ในคราวต่อไป แน่นอนครับเกี่ยวกับเรื่อง SOTUSและการรับน้อง )  . . .


อ้างอิง :  วรวิทย์ ไชยทอง. รับน้อง : ฉันเบื่อ..ที่จะมาหาความหมาย ฉันขอ..กระดาษหลายๆ ใบ. 

      

สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 2 ...

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สงสัยพาเพลิน ตอนที่ 2  : Hazing คืออะไร




       ผมนั่งมองลักษณะกิจกรรมอย่างนึงที่เรียกว่า "ขอลายเซนต์จากรุ่นพี่" โดยที่รุ่นพี่สั่งให้ทำอะไรๆก็ได้เพื่อแลกกับลายเซนต์ ( ที่ป๊อบที่สุด ไม่บอกรักรุ่นพี่ที่คนเยอะๆ ก็ร้องเพลง ) ผมขอเรียกกิจกรรมดังกล่าวว่า HAZING ! ครับ ( ซึ่งผมคิดว่า กิจกรรมขอลายเซนต์จากรุ่นพี่ จริงๆแล้ว น่าจะเป็นการเปิดช่องทางให้รุ่นพี่กับรุ่นน้องคุยกันมากกว่า แต่ ณ ปัจจุบัน กลายเป็น น้องต้องกล้า หรือ ต้องอายก่อนถึงจะได้ลายเซนต์ ซึ่งก็แปลกใจดี ว่า ในสถาบันอุดมศึกษายังพบกิจกรรมแบบนี้อีกอยู่รึเนี้ย = = " By the way เข้าเรื่องเลยละกัน 

       Hazing คือการกลั่นแกล้ง, ความพยายามที่จะทำให้อาย, น่าขบขัน ในกรณีนี้หมายถึงการรับน้องของสถาบันอุดมศึกษา ( รวมถึงกิจกรรมปลีกย่อย) ซึ่งเคยฮิตในอเมริกา ( ต่อมาก็มีกฎหมายออกห้ามกิจกรรมลักษณะดังกล่าวที่เรียกว่า Anti-Hazing Law และผมเองก็ไม่แน่ใจด้วยว่า ต้นกำเนิดของกิจกรรมเหล่านี้ อยู่ที่อเมริกาหรือเปล่านะครับ ) ซึ่ง 44 ใน 50 รัฐของอเมริกามีการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้และ 7 ใน 44 รัฐถือว่านี่เป็นความผิดอาญา (มูลความผิดที่ยอมความไม่ได้) เหตุเพราะในยุคนั้นสถาบันการศึกษาในบ้านเขายอมรับว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์รับน้องที่มันเกินเหตุได้ กฎหมายนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อ "จัดการกับพฤติกรรมของนักศึกษาที่ไร้วุฒิภาวะ"

       ตราบเท่าที่คำว่า "ร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจ" เป็นแค่ตัวหมึกที่เปื้อนบนกระดาษ แต่ทางปฎิบัติจริงมีการแอนตี้,บอยคอต, ตัดรุ่น ฯลฯ
ตราบเท่าที่ทุกกิจกรรม ทุกเพลงเชียร์ "ส่วนใหญ่" ล้วนมีแต่เนื้อหา "เพื่อตัวเอง", "เพื่อหมู่คณะ", ไม่มีเพื่อวิชาการ ความรู้ ชุมชน สังคม
ผมเองไม่คิดว่าบ้านเราจะเจริญก้าวหน้าไปได้มากกว่านี้หรอกครับ มันเดินทางมาจนถึงขีดสุดของการพัฒนาแล้ว (ยกเว้นเปลือกนอก)
ถึงแม้ว่าบ้านเราชอบรับอะไรต่อมิอะไรมาจากต่างประเทศ แม้กระทั่งกิจกรรมรับน้องก็ไม่เว้น
แต่ผมว่า ไม่มีทางที่คนพวกนี้จะรับเอา Anti-Hazing Law เข้ามาหรอกครับ เสียหน้าจะตาย
และฟันธงได้เลย ผมโดนด่าทั้งต่อหน้าและลับหลังจากพวกที่สนับสนุนการรับน้อง ชัวร์ป๊าบ

# สรุปเนื้อหาโดย พุงหล่อ . . . Original by chubby

Site


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 1


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย
ตอนที่ 1 ...  นิสิตกับนักศึกษา เหมือนหรือต่างกัน ?





" นิสิต -> ( เดิม นิสิต ใช้กับผู้ชาย ส่วนผู้หญิงใช้คำว่า นิสิตา ) คือ ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยบางแห่ง ศิษยที่เล่าเรียนอยู่ในสํานัก, ผู้อาศัย. นักศึกษา -> ผู้มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ตํ่ากว่ามัธยมศึก ษาตอนปลายตามหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการหรือมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ/เทียบเท่า ซึ่งเข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. " - พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 สรุป : นิสิต คือ ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยและได้พำนัก อาศัยอยู่ในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่มหาวิทยาลัยที่ใช้คำว่านิสิต ปัจจุบันก็มีหลายมหาวิทยาลัยที่มีหอพักในแล้ว แต่เพราะในสมัยก่อนมหาวิทยาลัยที่มีหอพักในค่อนข้างน้อยและการเรียกแทนคำว่า นิสิต นั้นก็มีมาตั้งแต่เริ่มแรกที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยซึ่งมีมานานมากแล้วจึงเรียกกันมาทั้งอย่างนั้น . . . นศ = นิสิต

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://variety.teenee.com/foodforbrain/2294.html