สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 8 ... เครื่องแบบนักศึกษา เครื่องแบบความคิด: ทำไมเครื่องแบบนักศึกษาไม่ใช่สำหรับมหาวิทยาลัย

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


เครื่องแบบนักศึกษา เครื่องแบบความคิด: ทำไมเครื่องแบบนักศึกษาไม่ใช่สำหรับมหาวิทยาลัย - ศิลปศาสตร์สำนึก 6: 16 (กันยายน 2549)




แพทริค โจรี, เขียนจิรวัฒน์ แสงทอง, แปล


u – ni – form  (Adj).

1. Always the same, as in character or degree; unvarying.

2. Conforming to one principle, standard, or rule; consistent.
3. Being the same as or consonant with another or others.
4. Unvaried in texture, color, or design. [American Heritage Dictionary]


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 7 ...เครื่องแบบนักศึกษา เครื่องแบบความคิด และรัฐประหาร 19 กันยา

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556


เครื่องแบบนักศึกษา เครื่องแบบความคิด และรัฐประหาร 19 กันยา 

แพทริค โจรี (อาจารย์ ม.วลัยลักษณ์) / จิรวัฒน์ แสงทอง 






        นับจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ประเด็นว่าด้วยบทบาทและสถานะของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้กลายมาเป็นหัวข้อถกเถียงสำคัญอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในระยะเวลาหลายปี นอกเหนือจากประเด็นถกเถียงต่อเนื่องในเรื่องมหาวิทยาลัยนอกระบบ การวิวาทะในสังคมไทย โดยเฉพาะในแวดวงวิชาการและมหาวิทยาลัยเอง ที่เผ็ดร้อนยิ่งกว่าเกิดขึ้นโดยสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อาทิ ต่อประเด็นทัศนคติและการเลือกข้างทางการเมืองของนักวิชาการ การยอมรับตำแหน่งที่เสนอโดยฝ่ายการเมือง การเขียนบทความให้ความชอบธรรมกับการกระทำทางการเมือง ฯลฯ

สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 6 ... ทรงผมนักเรียน

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555



สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย 
ตอนที่ 6 ... ทรงผมนักเรียน กับเตรียมร่างกฎระเบียบใหม่


        ทำไมเราถึงต้องตัดผมเกรียน ? ทำไมหนูต้องตัดให้เหลือแค่ ติ่งหู ? คำถามเหล่านี้ ผู้เขียนเชื่อครับว่าเป็นคำถามที่เยาว์ชนไทยหลายต่อหลายน เกิดคำถามและสงสัยว่า ทำไมกันนะ ? เพราะอะไร เพราะเหตุใด ... เมื่อไม่นานมานี้กระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมปรับระเบียบ กฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องทรงผม ... ซึ่งเราจะมาพูดถึง 

" ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มันมาเพื่อลดทอนความเป็นมนุษย์ของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าเด็กหรือเปล่า ? เพื่อที่เอาไว้จัดประเภทเพื่อที่จะจัดการได้ ... หรือผู้ใหญ่ต้องการจะบอกทางอ้อมว่า เราไม่สามารถดูแลตัวเองได้ จึงต้องมีเครื่องแบบที่อยู่ภายใต้ผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า นั้นคือ พวกผู้ใหญ่กำลังวางโครงสร้างความสำพันธ์เชิงอำนาจไว้กับร่างกายของตัวเด็ก ซึ่งจะเกี่ยวกับจิตสำนึกของเด็กว่า เขามีความเท่าเทียมกับผู้ใหญ่ ครู พ่อแม่ ... สามารถเถียงครูด้วยเหตุผล สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกับครู ผู้ใหญ่ได้ " ( ดัดแปลงจากคำพูดของ คุณคำผกา ที่พูดในรายการคิดเล่นเห็นต่าง ) 


" ทรงผมมีอำนาจต่อสมอง เพราะ เราถูกฝึกเพื่อให้สยบยอมต่ออำนาจ พอโตขึ้นเราจึงพบเห็นว่าคนไทยที่สยบต่อ "อำนาจนิยม" ในปัจจุบัน แม้จะเป็นผู้ใหญ่ก็ยังพบอยู่ ไม่ยอมตั้งคำถามหรือว่าอะไร เพราะถูกฝังหัวมาจากวัยเด็ก " (คุณ อัด - รายการคิดเล่นเห็นต่าง


   วันนี้เราจะมาพูดถึง " ทรงหัวเกรียน / ทรงติ่งหู " กันครับ ซึ่งผู้เขียนขอแนะนำว่า ให้ดูรายการ คิดเล่นเห็นต่าง จากท้ายของตัวบทความนี้นะครับ จะเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ... 

ความเป็นมาของทรงนักเรียน

ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ จากหนังสือพิมพ์มติชนฉบับ 2 พฤศจิกายน 2550 มีคำตอบสรุปความได้ว่า " ประเทศไทยรับทรงผมทรงนักเรียนทั้งเครื่องแบบต่างๆ จากประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในช่วงสงครามนั้นเกิดเหาระบาดมาก ประชาชนจึงนิยมตัดผมสั้น



ระเบียบ กฎกระทรวง


กระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2515) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2515 ในเรื่องเกี่ยวกับทรงผมที่ ไม่เหมาะสมแก่สภาพของนักเรียน กฎกระทรวงฉบับที่ 1 ระบุว่า

1. นักเรียนชายไว้ผมยาว โดยไว้ผมข้างหน้าและกลางศีรษะยาวเกิน 5 เซนติเมตร และชายผมรอบศีรษะไม่ตัดเกรียนชิดผิวหนัง หรือไว้หนวดหรือเครา

2. นักเรียนหญิงตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย

กฎกระทรวงฉบับที่ 2 แก้ไขเป็น

1. นักเรียนชายตัดผมหรือไว้ผมยาวจนด้านข้างและด้านหลังยาวเลยตีนผมหรือไว้หนวด ไว้เครา

2. นักเรียนหญิงตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย
ดังนั้นโรงเรียนต่าง ๆ จึงอาจมีระเบียบในเรื่องทรงผมที่แตกต่างกันได้ในรายละเอียด แต่ส่วนใหญ่นักเรียนชายมักจะให้ตัดผมสั้นเกรียน และนักเรียนหญิงมักจะให้ตัดผมสั้นในช่วงติ่งหูถึงปกเสื้อนักเรียน




เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในโรเรียน

         ช่วงวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยในการเจริญเติบโตจึงไม่แปลกที่เด็กในวัยดังกล่าวจะเริ่มค้นหาความเป็นตัวของตัวเอง  รักสวยรักงาม ( รักหล่อ ) ซึ่งกฎกระทรวงเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนจึงขัดแย้งอย่างแรงกับพัฒนาการด้านในของเด็ก ๆ ในวัยนี้ เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่เริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับความสวยความงาม (และความหล่อ)  เราพบว่าเด็กมัธยมจำนวนไม่น้อยรู้สึกกดดันไปกับกฎเกณฑ์ของโรงเรียนที่เป็นอยู่ นักเรียนหญิงหลายคนแอบไปซอยผม ในขณะที่นักเรียนชายเองก็ต้องการไว้ผมยาวที่มากกว่าทรงลานบิน


         ช่วงปิดเทอมใหญ่ จึงพบเห็นเด็กชายไว้ผมยาว และเด็กหญิงก็เริ่มจะมีการเสริมสวย ซอยผม รักสวยรักงามตามประสาวัยรุ่นครั้งเมื่อเปิดเทอมถ้าใครยังมีทรงผมที่ผิดระเบียบมาโรงเรียน ครูอาจารย์จะมีการลงโทษ หรือที่เรียกว่า ประจาน ด้วยการกร้อนผมทั้งเด็กชายและเด็กหญิงให้เสียทรง ครูอาจารย์จะรู้สึกสนุกและชอบใจที่ได้ลงโทษนักเรียนให้เกิดความอับอายเพื่อจะได้ไม่เป็นเยี่ยงอย่างกับเด็กคนอื่น ๆ ในขณะที่นักเรียนผู้ถูกลงโทษจะรู้สึกอับอายที่ถูกกร้อนผมเช่นนั้น นักเรียนหญิงและนักเรียนชายบางคนถึงกับร้องไห้เพราะทรงผมที่เสียไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเดินทางกลับบ้านด้วยรถเมล์  ทรงผมที่ถูกกร้อนจะถูกโชว์ไปตลอดทางจนกว่าจะถึงบ้าน นั่นยิ่งทำให้ครูอาจารย์ที่ลงโทษรู้สึกสะใจยิ่งขึ้น ในขณะที่เด็ก ๆ รู้สึกอับอายไม่น้อย 


         ออกจะเป็นเรื่องเศร้าไม่น้อย ที่ครูอาจารย์หลายคนมิได้มองเห็นว่าวิธีการลงโทษด้วยการกร้อนผมนักเรียนเช่นนั้นเป็นการใช้ ความรุนแรงรูปแบบหนึ่ง กับนักเรียนและดูเป็นเผด็จการไปหน่อย และเป็นเรื่องเศร้าที่ซับซ้อนเมื่อครูอาจารย์จำนวนมากก็มองไม่เห็นว่ากฎกระทรวงกำลังละเมิดสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของเด็ก ๆ อย่างไรบ้าง 


         ซึ่งน่าใจหายเหมือนกันที่ ผู้ใหญ่หรือคนที่ผ่านช่วงนี้มาแล้ว ลืมไปแล้วว่าตอนตนเองเป็นวัยรุ่นนั้นก็รู้สึกและต้องการอะไร  เวลาเห็นวัยรุ่นทำอะไรนอกกฎเกณฑ์ก็มักจะวิพากษ์วิจารณ์โดยลืมมองย้อนกลับไปในอดีตว่าตนเองก็เคยเป็นเหมือนกัน

เหตุผลที่ไม่ควรมีกฎบังคับการตัดผมเกรียน 1


1.ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพราะการเลือกทรงผมไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้อื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนเช่นกัน


2.ไร้ซึ่งความจำเป็น เดิมกฎทรงผมเป็นกฎของทหารเพื่อใช้ปลูกฝังการเชื่อฟังคำสั่ง ปลูกฝังอำนาจนิยม และเพื่อความสะดวกในการดูแลรักษา แต่การปลูกฝังอำนาจนิยมทำให้เด็กมีทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อบ้านเมือง และนักเรียนนักศึกษาไม่ต้องรีบร้อนในชีวิตประจำวัน สามารถดูแลทรงผมได้


3.การใช้กฎทรงผมบังคับเป็นการสร้างภาพลักษณ์เสมือนมีวินัยเนื่องจากระเบียบวินัยที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากการบังคับให้ทำ แต่หากเป็นการกระทำออกมาด้วยจิตสำนึก


4.ทำให้เยาวชนคิดไม่เป็นว่าสิ่งที่ทำอยู่ผิดหรือถูก ได้แต่รับคำสั่งไปวันๆ


5.ส่งเสริมให้เยาวชนไม่รักษาสิทธิ เนื่องจากการเลือกทรงผมเป็นสิทธิอันชอบธรรมของบุคคลนั้นๆ แต่สถานศึกษากลับเพิกเฉยและตั้งกฎระเบียบอันเข้มงวด ทำให้นักเรียนไม่สามารถรักษาสิทธิของตัวเองได้ นับวันก็จะมีแต่คนหมดหวัง หมดอาลัย ทั้งที่เป็นสิทธิของบุคคลนั้นๆ


6.ปลูกฝังให้เยาวชนละทิ้งเหตุผล เยาวชนหลายคนมีคำถามอยู่ในใจ แต่เมื่อได้รับคำตอบว่า "มันเป็นกฎ" หรือ "เธอไม่พอใจที่จะทำตามกฎ ก็ไม่ต้องเรียน" ซึ่งไม่ใช่คำตอบที่ดีของคนที่มีการศึกษาและกำลังให้การศึกษาต่ออนุชนรุ่นหลัง เพราะแสดงถึงความไร้เหตุผลอย่างยิ่งยวด ส่วนคนที่ยึดมั่นในเหตุผลและรอคอยคำตอบก็จะถูกมองเป็นพวกก้าวร้าว แล้วจะค่อยๆ ถูกหล่อหลอมเป็นพวกยอมรับกฎโดยที่ไม่รู้เลยว่าเพราะอะไร เดินไปโดยปราศจากเป้าหมาย เป็นส่วนจากการทิ้งเหตุผลของผู้ใหญ่


7.เป็นการส่งเสริมให้ใช้อำนาจโดยมิชอบ จากการที่เยาวชนซึมซับการใช้อำนาจของครูของเขาที่ใช้อำนาจอย่างไร้เหตุผลให้เขาตัดทรงผมสั้นโดยไม่มีเหตุผล เขาจะทำตามโดยใช้อำนาจอย่างผิดๆ ทำร้ายคนอื่น


8.ทำให้เกิดการเหยียดหยามดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บางคนอาจได้ยินผู้ใหญ่ด่าว่าไว้ผมยาวเหมือนฮิปจะไปเป็นนักเลงหรือ นั่นคือการเหยียดหยาม ความเป็นคนไม่ได้อยู่ที่ทรงผม จะเป็นคนดี จะสั้นยาวก็ไม่มีปัญหา


9.ทำให้ชื่อเสียงของโรงเรียนเป็นสิ่งจอมปลอม และมองข้ามชื่อเสียงที่แท้จริงไป คือคุณภาพของนักเรียนไม่ได้อยู่ที่ทรงผม แต่อยู่ที่คุณภาพของการศึกษาเรียนรู้และคุณภาพจิตใจ


10.ปลูกฝังให้เยาวชนไม่ยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น หรือขาดความมั่นใจในตัวเองไปเลย จากที่เห็นได้ว่าเยาวชนต้องการหลุดจากแอกของกฎทรงผม แต่ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะผู้ใหญ่ไม่รับฟังความคิดเห็น เยาวชนจะถูกหล่อหลอมให้เชื่อมั่นความคิดตัวเองมากเกินไปจนไม่ฟังความคิดเห็นผู้อื่น ซึ่งเป็นภัยต่อระบอบประชาธิปไตย หรืออีกทางหนึ่งสูญเสียความมั่นใจ ทำอะไรก็ผิด เหตุผลดีแค่ไหนก็เท่านั้น เป็นอันตรายกับระบอบการปกครองเช่นกัน

เหตุผลที่ไม่ควรมีกฎบังคับการตัดผมเกรียน 2

         ประการแรก เหตุผลของระเบียบทรงผมที่มักถูกกล่าวโดยผู้ใหญ่และครูทั้งหลายนั้น คือ การเกรงกลัวเด็กจะไม่สนใจการเรียน เอาแต่ตามแฟชันและห่วงอยู่กับทรงผมของตน ความคิดข้อนี้ ไม่เคยได้รับการพิสูจน์ว่า จริง เป็นเพียงความเชื่อที่ฝังหัวคนรุ่นเก่าอยู่และไม่คิดจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไร เด็กทุกคนมีความแตกต่างหลากหลายด้านบุคลิกภาพ มีทั้งเรียบร้อยและตรงกันข้าม ใช่ว่าทุกคนจะ “แรด” เหมือนดังที่ครูบาอาจารย์ใหญ่น้อยทั้งหลายเกรงกลัว การตามแฟชันนั้นย่อมมีขอบเขต เป็นไปไม่ได้ที่เด็กทุกคนจะห่วงแฟชันมากกว่าการเรียนในสภาวะที่การแข่งขันทางการศึกษาในไทยสูงลิบลิ่วขนาดนี้ หากนักเรียนจะเกเรและห่วงใยเส้นผมของตนมากกว่าการเรียนขึ้นมาจริงๆ นั่นเป็นหน้าที่ของครูแนะแนวที่จะให้คำแนะนำ ไม่ควรใช้กฎที่เหมาคนองค์รวมในลักษณะนี้

 
        ประการที่สอง กฎทรงผมมักถูกให้เหตุผลในบางครั้งว่า ป้องกันการเหลื่อมล้ำในหมู่นักเรียน ไม่ให้เกิดการแข่งขันทางความงาม และสิ้นเปลืองเงินไปกับการเสริมสวย ต้องขอให้เหตุผลว่า ความเหลื่อมล้ำนั้นมาในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะ โทรศัพท์มือถือ กระเป๋า และอื่นๆซึ่งมีการแข่งขันที่สูงและมีมูลค่ามหาศาลกว่าค่าทำผมหลายเท่าตัว ความเหลื่อมล้ำนั้นเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างและเป็นปัญหาที่ใหญ่หลวงเกินกว่าที่กฎทรงผมนักเรียนจะหยุดมันได้ หากมองตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มีสิ่งใดหยุดความเหลื่อมล้ำได้ในสังคมแบบทุนนิยมดังเช่นปัจจุบันนี้ 


        ประการที่สาม กฎทรงผมถูกกล่าวว่า มีประโยชน์ด้านความสะอาดและการควบคุมโรค ในสมัยก่อนนั้นอาจมีความจำเป็นเพราะการแพทย์และสุขอนามัยไม่เจริญเท่าปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันนั้น การแพทย์เจริญรุดหน้าไปมาก สุขอนามัยและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็ดีขึ้นมาก การเกิดโรค เช่น โรคเหา จึงควบคุมได้ง่าย ถึงแพร่ระบาดก็สามารถจัดการได้ไม่ยาก ไม่จำเป็นต้องใช้กฎที่กดทับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเหมาคนองค์รวมในลักษณะนี้อีกต่อไป


        ประการที่สี่ ผมนั้นถือเป็นอวัยวะของร่างกายและเจ้าของก็ควรมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการกำหนดความเป็นไปของร่างกายตัวเองตราบเท่าที่ไม่ทำให้ตนเองหรือผู้อื่นเดือดร้อน ไม่ควรมีใครมีอำนาจสั่งการให้ทำลาย หรือทำให้เป็นไปในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง โดยอ้างสิทธิตามระเบียบข้อบังคับ 


        ประการที่ห้า ในโลกนี้ไม่ได้มีแต่ประเทศไทย โปรดสังเกตความเป็นไปของประเทศรอบข้างว่าเขาพัฒนาไปถึงไหนแล้ว ทำไมไทยจึงเป็นแค่หนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่ยังคงมีกฎลักษณะนี้อยู่ และประเทศที่ไม่มีกฎทรงผมก็เป็นประเทศที่เจริญแล้วเป็นส่วนใหญ่ และหลายประเทศที่กล่าวมานั้น “ไม่เคยมีการบังคับใช้เรื่องทรงผมในสถานศึกษา” แต่ประเทศเขาก็ยังเจริญรุดหน้าไทยไปได้โดยไม่ต้องมีกฎระเบียบเช่นนี้ โครงการ “โรงเรียนมาตรฐานสากล” ที่โรงเรียนทั้งหลายเฝ้าประโคมเช้าค่ำว่าดีหนักหนานั้น สุดท้ายก็เป็นแค่ความ “ปากว่า ตาขยิบ” ของสถานศึกษา หากไม่สนใจดูโลกภาย(อันเป็นสากล)ว่ามีความเจริญรุดหน้าและมีความเป็นไปเพียงใดแล้ว 


        ประการที่หก สถานศึกษาในประเทศนี้ไม่ได้มีระเบียบเรื่องทรงผมทุกแห่ง แต่มักจะพบมากในโรงเรียนสายสามัญ โรงเรียนสายสามัญบางแห่งในประเทศไทยให้อิสรภาพเรื่องทรงผม รวมไปโรงเรียนสายอาชีพ ซึ่งทรงผมที่มีอิสรภาพนั้นก็ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาแต่อย่างใด หากจะทำให้ทุกโรงเรียนมีความเท่าเทียมโดยไว้ทรงผมได้อิสระเหมือนกัน ก็ไม่ใช่ปัญหา ไม่ต้องเกรงกลัวว่าทรงผมที่อิสระจะทำให้เยาวชนนั้นเกเร นักเรียนสายสามัญไม่ได้เกเรเป็นอยู่พวกเดียว ไม่ว่าใครก็เกเรได้ทั้งนั้น และหากว่าอิสรภาพจะทำให้เด็กเกเรจริงๆ สถาบันการศึกษาสายอาชีพทั้งหลาย ก็คงจะพบกับความล้มเหลวไปนานแล้ว 

สิทธิของเด็ก กับทรงผม


ฝากเก็บให้ไปคิด !!!

        " แต่สงสัยจังว่าไอ้คนที่มันถกเถียงประเด็นนี้ในยุคนั้น มันกำลังทำอะไรกันอยู่ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาเหล่านั้นจะกล้าตั้งคำถาม เมื่อถูกคนเอาเปรียบ เมื่อพบเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมมั้ย ? หรือได้แต่ก้มหน้าก้มตาฟังคำสั่งของชนชั้นปกครองไปวันๆ " - จ่าพิชิต แห่ง Drama-Addict.com


   " การต่อสู้เรียกร้องเพื่อเสรีภาพนั้นไม่ใช่การทำลายระเบียบวินัยอย่างที่หลายฝ่ายเกรงกลัว ทุกคนทราบดีว่าเสรีภาพนั้นต้องไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ขณะเดียวกัน กฎระเบียบเองก็ไม่ได้มีกฎไหนที่สมบูรณ์แบบ จะต้องคงอยู่ต่อไปชั่วกัลปาวสาน ไม่งั้นคงไม่มีการแก้ไขกฎหมาย หรือการแปรญัตติรัฐธรรมนูญ " - สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย


   " กรณีครูกร้อนผมนักเรียนให้เสียทรง จนนักเรียนต้องอับอาย ร้องไห้ จะมีใครรู้สึกบ้างหรือไม่ว่านั่นคือการใช้อำนาจเผด็จการแบบเนียน ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ในขณะที่สังคมนอกโรงเรียน  ผู้ใหญ่ต้องการและเรียกร้องเอาประชาธิปไตยกันแทบเป็นแทบตาย แต่ผู้ใหญ่เองกลับใช้อำนาจเผด็จการกับเด็ก ๆ ซึ่งก็ดูขัดแย้งกันอย่างไรชอบกล " - หนึ่งลมหายใจ ( นามแฝง ) 


  " ผมมองว่า การตัดผมเกรียนเนี้ยไม่ได้ทำให้เราเรียนดีขึ้น หรือมีระเบียบวินัยขึ้นเลย ... ถ้าเราลองมาตรรกะแบบง่ายๆ ทำไมพวกคนไม่ดีต่างๆ ตอนเด็กๆ พวกเขาเหล่านั้นก็ตัดผมเกรียน แต่ทำไม ??? เมื่อโตขึ้นถึงเป็นคนเช่นนั้น ??? ... หากบอกว่าเรียนดีขึ้น จากการที่ตัดผมเกรียนมา เมื่อ 2515 ( ถ้าจำไม่ผิด ) จนถึงทุกวันนี้ ประเทศไทยมีผลการศึกษาติด 1 ใน 5 อันดับที่แย่ที่สุดในโลก ??? นั้นก็แสดงให้เห็นแล้วครับว่า " ทรงผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลของการศึกษาจริง " เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว ในหลายๆ ประเทศก็คงให้คนในชาติเขา "ตัดผมเกรียนกันทั้งประเทศ ทั้งโลกแล้วละครับ " ... ส่วนการฝึกระเบียบวินัยนั้น การถูกบังคับให้ตายยังไง สุดท้ายก็ใช้ไม่ได้หรอกครับ สู้สอนเด็กดีกว่าว่า ทำอย่างไรให้เหมาะกับกาลเทสะ น่าจะดีเสียกว่า " พุงหล่อ (Handsome - Belly ) 

แหล่งข้อมูล


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย  
ตอนที่ 5 . . . ทำไมเด็กไทยจึงต้องใส่ชุดนักศึกษา




ทำไมเด็กไทยจึงต้องใส่ชุดนักศึกษา

       ทำไมนักศึกษาในประเทศไทยจึงยังต้องใส่ชุดเครื่องแบบนักศึกษาอยู่ ในขณะที่ต่างประเทศสามารถไปเรียนด้วยชุดลำลองที่สุภาพก็ได้ การเรียนในมหาวิทยาลัยควรจะให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่หรือ?

       ทำไมนักศึกษาจึงแต่งกายในชุดปกติที่สุภาพมาเรียนไม่ได้? ทำไมต้องให้ใครมาบังคับจำกัดเสรีภาพในการแต่งตัวของเราเอง? ในเมื่อการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดแล้วจุดประสงค์ในการเรียนในมหาวิทยาลัยก็ควรจะเป็นการศึกษาหาความรู้ใช่หรือไม่?


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 4

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย 
ตอนที่ 4 . . . รู้ทันความท้อถอย 




       กลับมาพบกันอีกแล้วนะครับ กับ สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 4 ... วันนี้เราจะเสนอ ความท้อถอยต่ออุปสรรค์ครับ แรงบรรดาลใจที่เขียนเรื่องนี้ มาจากวิชาเตรียมสหกิจได้ฟังการบรรยายแล้วชอบมาก พูดถึง การคิดนอกกรอบ ( ถ้ามีโอกาสจะพูดถึงเรื่องนี้ในภายหลัง ) และเรื่อง ความท้อถอยครับ ... ก่อนอื่น ผมอยากให้ทุกท่านได้ชมคลิบนี้ครับ ... แล้วท่านตอบตัวท่านเองว่า ท่านได้อะไรจากคลิบนี้บ้าง 




ความท้อถอยต่ออุปสรรค์ต่างๆ 

       ในการดำเนินชีวิตประจำวันแน่นอนครับว่าต้องมีเรื่องที่สมหวัง ผิดหวัง ซึ่งทำให้เรารู้สึก หดหู่ ไม่อยากจะก้าวเดินไปข้างหน้าต่อ ในวัยเรียน หากพบว่าเราเรียนไม่ค่อยเข้าใจ คะแนนสอบน้อย
ทุกคนต้องเกิดอาการ เบื่อหน่าย ไม่อยากจะคุยกับใครทั้งนั้น อ่อนล้า อาการประมานนี้เราเรียกว่า "ความท้อ" ครับ ... ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะพบในหมู่ของคนอายุ ช่วง 20-40 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า
จะไม่พบในช่วงอายุอื่นๆ นะครับ 


มนุษย์เรามีความท้อถอยจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ 

1.ลักษณะของความท้อถอยทางด้านอารมณ์ หรือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกเบื่อหน่าย ความอ่อนล้า หมดเรี่ยวหมดแรง เกิดความเครียด ความคับข้องใจ ไม่สบอารมณ์ไปทุกเรื่อง
2. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ได้แก่ ลักษณะของบุคคลที่ไม่สนใจในพฤติกรรมของใครๆ ไม่ยินดียินร้าย ใครจะทักก็ช่างใครไม่ทักก็ช่าง ไม่ใส่ใจพฤติกรรมคนอื่น
มีเจตคติและแนวคิดที่ไม่ดีต่อคนอื่น มองคนอื่นในแง่ร้าย ระแวง ไม่ไว้ใจคนอื่นมองเห็นเพื่อนไม่ใช่เพื่อน คิดทำร้ายตนเองและคิดว่าคนอื่นจะทำร้ายตนเช่นกัน บุคคลในกลุ่มนี้จะรู้สีกว่าตนเองด้อยค่า
มีความรู้สึกทางด้านลบ
3. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากการไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานของตน บางท่านรู้สึกเองว่าตนเองไร้ความสามารถ การทำงานล้มเหลว งานไม่สมกับที่ตั้งใจ
บุคคลกลุ่มนี้จะมองคุณค่าของตนเองต่ำ



ความท้อถอย อาจแบ่ง ได้ 3 ระดับ คือ 

1. ความท้อถอยในระดับสูง คนๆนั้นจะมีความอ่อนล้าทางอารมณ์ค่อนข้างมากและมีความรู้สึกด้อยในคุณค่าของตนเองมากเช่นกัน แต่ในเรื่องความสำเร็จของงานบุคคลในกลุ่มนี้จะรู้สึกว่างานของตนไม่พัฒนา
หรือไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร หรืองานอยู่ในระดับต่ำนั่นเอง
2. ความท้อถอยในระดับปานกลาง บุคคลประเภทนี้ จะมีความท้อในในสามลักษณะที่กล่าวมาในระดับปานกลาง เรียกได้ว่าอาการท้อถอยมีเหมือนกันแต่มีในระดับกลางๆ
ยังไม่เข้ามาทำลายอารมณ์และความรู้สึกมากนัก
3. ความท้อถอยในระดับต่ำ บุคคลในกลุ่มนี้น่าสนใจเพราะ บุคคลในกลุ่มนี้จะมีความท้อถอยในเรื่องความอ่อนล้าทางอารมณ์และ ความรู้สึกด้อยคุณค่าในตนเองต่ำ สิ่งที่น่าสนใจคือ บุคคลในกลุ่มนี้
 จะมีความสำเร็จส่วนบุคคลสูง


การแก้ไขอาการท้อง่ายๆ สามารถกระทำได้ คือ 

1. ต้องแก้ที่ตัวเราเอง หาสาเหตุว่าทำไมเราถึงท้อ แล้วปรับปรุงส่วนนั้นให้ดีขึ้นในโอกาสหน้า ทุกคนล้วนแต่ท้อแท้กันทั้งนั้นครับ แต่การที่เราลุกขึ้นสู้เพื่อให้พ้นส่วนนั้นไปได้ ผมว่าเจ๋งสุดๆ ไปเลยละ
2. อย่าตั้งความหวังสูงเกินตัว หวังได้นะครับ แต่อย่าตั้งความหวังกับสิ่งนั้นมากจนเกินไป จนทำให้เราเกิดบาดแผลหากไม่เป็นไปดั่งตามที่ใจตั้งไว้


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 3

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย 
ตอนที่ 3 ... ทำไมเขาต้องทำให้เรา "เหมือนกันด้วย" และกล่อมเกลาความคิดของเรา ?



       ระบบการศึกษาในประเทศเสรีนั้น เขาเน้นให้นักเรียนมีเสรีภาพด้านความคิด จะพูดจะคุย ซักถาม จะถามเรื่องอะไรก็ถามได้ไม่มีขีดจากัดเพราะเขาถือว่า คำถามเป็นหน่ออ่อนของการเปลี่ยนแปลงทางปัญญา เป็นพลังของการแสวงหาคาตอบของปัจเจก อันจะนำมาซึ่งความรู้ที่จะใช้พัฒนาประเทศ เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตั้งคาถามวิพากษ์ วิจารณ์ นั้นหมายถึงในทุกแขนงวิชานะครับ ทั้งวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ นักเรียน นักศึกษาในประเทศดังกล่าวสามารถวิพากษ์วิจารณ์ แม้กระทั่ง อำนาจของผู้บริหาร ผู้มีอานาจในสังคมใดๆก็ตามได้อย่างเสรี แต่ในประเทศไทยนั้น เราก็มีเสรีครับ เรื่องเรามีแบบเรียน หลักสูตรที่ถูกกำหนดโดยกระทรวง ถามได้ทุกเรื่องที่เป็นความรู้ มีเรื่องเดียวที่ห้ามถาม ห้ามวิพากษ์ ห้ามวิจารณ์ คือ เรื่องเกี่ยวกับ “อำนาจ” ครับ เราถูกทำให้เชื่อเสมอมาว่าถ้าใครขืนมาพูด วิพากษ์ วิจารณ์ จนถึงประท้วง เรื่องพวกนี้ ต้องเป็นพวกหัวแข็ง ดื้อด้าน ไม่ฟังใคร หัวรุนแรง จนถึงพวกกบฏ วิธีคิดแบบนี้ไม่ใช่เฉพาะในระบบการศึกษานะครับ แต่เป็นวัฒนธรรมหลักของสังคมและของรัฐไทยมานานแล้ว ดูประวัติศาสตร์ไทยในอดีตสิครับ ลองใครคิดอะไรแตกต่างจากชาวบ้านชาวช่องเป็นอันถูกข้อหาเหล่านี้ทั้งนั้น

      ผมจำลองมานั่งตั้งคำถามกับตัวเองว่า ... ทำไม ? เกือบทุกครั้งที่เรียนวิชาเตรียมสหกิจศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนึง บางมหาวิทยาลัยก็ใช้ชื่อว่า เตรียมฝึกงาน แต่ ณ มหาวิทยาลัยที่ผมศึกษานั้น ใช้คำว่า "เตรียมสหกิจศึกษา"  ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ เตรียมสหกิจศึกษากันซักเล็กน้อยนะครับ 
       
      " สหกิจศึกษา(Co-operative Education) คือ ระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในหน่วยงาน ซึ่งเรียกว่า สถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต อย่างเป็นระบบก่อนสำเร็จการศึกษา โดยที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตที่ให้ความร่วมมือแบบเต็มเวลา จำนวน 16 สัปดาห์ (เรียนรู้การปฏิบัติงานจริง จำนวน 4 เดือนเต็ม : 1ภาคการศึกษา) ทั้งนี้นักศึกษาจะไม่อยู่ใน สถานะของนักศึกษาฝึกงาน แต่ว่านักศึกษาจะเป็นเสมือนเจ้าหน้าที่หรือพนักงานปฏิบัติงานชั่วคราวในสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาสหกิจศึกษาอาจจะได้รับเงินเดือน ค่าจ้างสวัสดิการหรือค่าตอบแทนอื่นตามความเหมาะสมจากสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต " - ( งานการเรียนการสอนรูปแบบสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ )


 ส่วนใหญ่ของนักศึกษา ( เดิม : น้องใหม่) ไม่ได้ฆ่าตัวตายทางกาย แต่ทุกคนตายทางวิญญาณ และสติปัญญาไปหมดแล้ว ภายใต้สายตาของมหาวิทยาลัยนั้นเอง” ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์
     

       ซึ่งผมจะไม่ขอพูดอะไรมาก เพราะผมรู้สึกว่า " เขาพยายามทำให้ นักศึกษาที่มาจากหลากหลายที่ หลายภาค หลายจังหวัด หลายครอบครัว เป็น แบรนด์ของตัวเองจนไปทำลายความเป็นปัจเจกบุคคล " และเมื่อผมฟังต่อไปเรื่อย พบว่า แค่นั้นแหละ ... ทั้งกล่อมเกลาทางปัญญา ทั้งๆที่ ความหลากหลายเป็นต้นเหตุของ ความคิดที่แตกต่าง มุมมองที่แปลกใหม่ ... 

       น่าแปลกที่สังคมในบ้านเรายอมรับบุคคลที่คิดต่าง หรือแตกต่างกันทางปัจเจกบุคคลไม่ค่อยจะได้กัน ... และชอบตัดสินอะไรๆจากลักษณะภายนอกมาก่อนภายใน

       ผมได้เรียนวิชาเตรียมสหกิจทำให้ผมรู้เลยว่า การจะรับใครทำงานซักคนนี้ เรื่องที่ "ไร้สาระ" ก็เอามาคิด ... ถ้าความจริงเป็นแบบนั้น ผมชักกลัวแล้วละซิครับว่า ประเทศเราจะก้าวต่อไปอย่างไรหากมีคนแบบนี้อยู่เยอะแยะ 

       ไหนจะด้วยเรื่อง "อาวุธโส" ซึ่งชอบนำมาเป็นข้ออ้างในการกระทำผิด ไม่สามารถ ถก-เถียงได้ นั้นก็เพราะ ในระดับการศึกษาได้มีการกล่อมเกลาทางปัญญาให้เชื่อโดยจิตฝังลึก จิตใต้สำนึกว่า ห้ามเถียงผู้ใหญ่ ( ซึ่งระบบดังกล่าว จะพูดถึง ในคราวต่อไป แน่นอนครับเกี่ยวกับเรื่อง SOTUSและการรับน้อง )  . . .


อ้างอิง :  วรวิทย์ ไชยทอง. รับน้อง : ฉันเบื่อ..ที่จะมาหาความหมาย ฉันขอ..กระดาษหลายๆ ใบ. 

      

สงสัยพาเพลินรอบรั้วมหาวิทยาลัยไทย ตอนที่ 2 ...

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สงสัยพาเพลิน ตอนที่ 2  : Hazing คืออะไร




       ผมนั่งมองลักษณะกิจกรรมอย่างนึงที่เรียกว่า "ขอลายเซนต์จากรุ่นพี่" โดยที่รุ่นพี่สั่งให้ทำอะไรๆก็ได้เพื่อแลกกับลายเซนต์ ( ที่ป๊อบที่สุด ไม่บอกรักรุ่นพี่ที่คนเยอะๆ ก็ร้องเพลง ) ผมขอเรียกกิจกรรมดังกล่าวว่า HAZING ! ครับ ( ซึ่งผมคิดว่า กิจกรรมขอลายเซนต์จากรุ่นพี่ จริงๆแล้ว น่าจะเป็นการเปิดช่องทางให้รุ่นพี่กับรุ่นน้องคุยกันมากกว่า แต่ ณ ปัจจุบัน กลายเป็น น้องต้องกล้า หรือ ต้องอายก่อนถึงจะได้ลายเซนต์ ซึ่งก็แปลกใจดี ว่า ในสถาบันอุดมศึกษายังพบกิจกรรมแบบนี้อีกอยู่รึเนี้ย = = " By the way เข้าเรื่องเลยละกัน 

       Hazing คือการกลั่นแกล้ง, ความพยายามที่จะทำให้อาย, น่าขบขัน ในกรณีนี้หมายถึงการรับน้องของสถาบันอุดมศึกษา ( รวมถึงกิจกรรมปลีกย่อย) ซึ่งเคยฮิตในอเมริกา ( ต่อมาก็มีกฎหมายออกห้ามกิจกรรมลักษณะดังกล่าวที่เรียกว่า Anti-Hazing Law และผมเองก็ไม่แน่ใจด้วยว่า ต้นกำเนิดของกิจกรรมเหล่านี้ อยู่ที่อเมริกาหรือเปล่านะครับ ) ซึ่ง 44 ใน 50 รัฐของอเมริกามีการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้และ 7 ใน 44 รัฐถือว่านี่เป็นความผิดอาญา (มูลความผิดที่ยอมความไม่ได้) เหตุเพราะในยุคนั้นสถาบันการศึกษาในบ้านเขายอมรับว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์รับน้องที่มันเกินเหตุได้ กฎหมายนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อ "จัดการกับพฤติกรรมของนักศึกษาที่ไร้วุฒิภาวะ"

       ตราบเท่าที่คำว่า "ร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจ" เป็นแค่ตัวหมึกที่เปื้อนบนกระดาษ แต่ทางปฎิบัติจริงมีการแอนตี้,บอยคอต, ตัดรุ่น ฯลฯ
ตราบเท่าที่ทุกกิจกรรม ทุกเพลงเชียร์ "ส่วนใหญ่" ล้วนมีแต่เนื้อหา "เพื่อตัวเอง", "เพื่อหมู่คณะ", ไม่มีเพื่อวิชาการ ความรู้ ชุมชน สังคม
ผมเองไม่คิดว่าบ้านเราจะเจริญก้าวหน้าไปได้มากกว่านี้หรอกครับ มันเดินทางมาจนถึงขีดสุดของการพัฒนาแล้ว (ยกเว้นเปลือกนอก)
ถึงแม้ว่าบ้านเราชอบรับอะไรต่อมิอะไรมาจากต่างประเทศ แม้กระทั่งกิจกรรมรับน้องก็ไม่เว้น
แต่ผมว่า ไม่มีทางที่คนพวกนี้จะรับเอา Anti-Hazing Law เข้ามาหรอกครับ เสียหน้าจะตาย
และฟันธงได้เลย ผมโดนด่าทั้งต่อหน้าและลับหลังจากพวกที่สนับสนุนการรับน้อง ชัวร์ป๊าบ

# สรุปเนื้อหาโดย พุงหล่อ . . . Original by chubby

Site